ปัจจุบันความคิดที่ว่า เครื่องสำอางเป็นเครื่องประทิ่นโฉมของผู้หญิงเท่านั้น นับว่าล้าสมัยไปเสียแล้ว เพราะคนในยุคนี้ไม่ว่าหญิง ชาย เด็ก ผู้ใหญ่ จนถึงวัยชรา ต่างก็ใช้เครื่องสำอางกันทุกคน-ทุกวัน ตั้งแต่เช้า เริ่มต้นวันใหม่ เราก็ต้องแปรงฟัน-อาบน้ำ-ประแป้ง เพียงแค่กิจกรรมแรกเริ่มนี้ก็ต้องใช้เครื่องสำอางกันแล้ว และปัญหาที่ตามมาก็คือ แปรงฟันทั้งทีจะเลือกใช้ยาสีฟันแบบใดดี ยาสีฟันแบบผง แบบครีมหรือว่า ยาสีฟันสมุนไพร ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ยาสีฟันที่อ้างว่าช่วยลดการเสียวฟัน หรือว่า ยาสีฟันที่ ช่วยขจัดคราบทำให้ฟันขาวขึ้น จะเลือกซื้อเลือกใช้แบบใดถึงจะคุ้มค่า สมราคา ยิ่งภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ต้องคิดให้รอบคอบ
เมื่อเอ่ยถึงเครื่องสำอาง คุณจะนึกถึงผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง...ครีม / โลชั่นบำรุงผิว น้ำหอม โคโลญจน์ ลิปสติก รองพื้น ทาแก้ม แต่งตา ทาเล็บ ล้างเล็บ ผลิตภัณฑ์แต่งผม ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย สบู่ แชมพู ครีมนวดผม ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก...ไปจนถึงผ้าอนามัย ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ นับวันก็มีความหลากหลายทั้งรูปแบบ สี กลิ่น จะมั่นใจได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเป็นเครื่องสำอางที่คุณ ต้องการ
เครื่อง สำอางเป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 โดยมีคำจำกัดความ ตามกฎหมายว่า หมายถึง วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใด ต่อส่วนหนึ่ง ส่วนใดของร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม และรวมตลอดทั้งเครื่องประทิ่นผิวต่างๆ แต่ไม่รวมถึงเครื่องประดับและเครื่องแต่งตัวซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย พอจะสรุปอย่างง่ายๆได้ว่า เครื่องสำอางต้องเป็น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับร่างกายมนุษย์ เพื่อความสะอาด และความสวยงาม เท่านั้น ผลิตภัณฑ์ที่กล่าวอ้างสรรพคุณเกินกว่านี้ เช่น อ้างว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษาโรค ป้องกันโรค หรือมีผลต่อโครงสร้าง หรือการกระทำหน้าที่ต่างๆของร่างกายอันเป็น สรรพคุณทางยา ผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องจัดเป็นยา ไม่ใช่เครื่องสำอาง ตัวอย่างเช่น โลชั่นปลูกผม ครีมเสริมสร้างทรวงอก ครีมลดไขมัน สบู่ลดความอ้วน โลชั่นกระชับจุดซ่อนเร้น ครีมฆ่าเชื้อโรค ลดอาการผิวหนังอักเสบ แก้คัน ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ มีการแสดงสรรพคุณทางยา ต้องขึ้นทะเบียนเป็นยาและปฎิบัติตามพระราชบัญญัติยาฯที่มีความเข้มงวดกว่า พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง ฯ
แม้เราจะเลือกซื้อเครื่องสำอางมาใช้ เพียงเพื่อความสะอาดและสวยงาม แต่ก็ควรจะคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย ดังนั้น ก่อนซื้อจึงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้นให้ดีเสียก่อน อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ผู้บริโภคได้รับมักจะเป็นข้อมูลจาก เจ้าของผลิตภัณฑ์ ข้อมูลส่วนใหญ่จึงมักแสดงเฉพาะส่วนดีของผลิตภัณฑ์ เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคซื้อสินค้า การเลือกข้อมูลเพื่อ นำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การโฆษณา มีทั้งการพูดหว่านล้อมเชิญชวนแบบไดเร็คเซลส์ และการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ โปสเตอร์ และสิ่งพิมพ์ต่างๆ s
2. ฉลาก และเอกสารกำกับผลิตภัณฑ์ เป็นข้อมูลที่มากับตัวผลิตภัณฑ์ เมื่อนำมาพิจารณาควบคู่กับลักษณะของผลิตภัณฑ์ จะช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
ข้อกำหนดตามกฎหมายที่ว่า เครื่องสำอางทุกประเภท ทุกชนิดและทุกชิ้น ต้องมีฉลากภาษาไทย แล้วฉลากภาษาไทยคืออะไร และมีความสำคัญเพียงใด
ตามพระ ราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 กำหนดว่า " ฉลาก " หมายถึง รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใดๆเกี่ยวกับ เครื่องสำอาง ซึ่งแสดงไว้ที่เครื่องสำอาง ภาชนะบรรจุ หรือ *คำไม่สุภาพ*บห่อ หรือสอดแทรกหรือรวมไว้กับเครื่องสำอางภาชนะบรรจุ หรือ*คำไม่สุภาพ*บห่อ และหมายความรวมถึง เอกสารหรือคู่มือสำหรับใช้ประกอบกับเครื่องสำอาง
เครื่อง สำอางส่วนใหญ่มีรูปลักษณะภายนอกที่สวยงาม ทั้งสีสันและรูปแบบเพื่อดึงดูดใจผู้บริโภค ดังนั้นฉลากของเครื่องสำอางจึง มีการออกแบบอย่างประณีต สวยงาม จนบางครั้งเราลืมให้ความสำคัญกับประโยชน์อื่นๆของฉลากเครื่องสำอางไป
เนื่อง จากฉลากเครื่องสำอางมักจะมีข้อความภาษาต่างประเทศอยู่ด้วย ดังนั้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลรายละเอียด เบื้องต้นที่จำเป็น ประกอบการพิจารณาตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง ให้ตรงตามความต้องการ ไม่ถูกหลอกลวง และสามารถนำไป ใช้อย่างถูกวิธี เกิดประโยชน์คุ้มค่า มีความปลอดภัย จึงมีการกำหนดให้แสดงข้อมูลเบื้องต้นที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งนี้เป็น ภาษาไทย ซึ่งมีรายละเอียด ได้แก่
1. ชื่อเครื่องสำอาง
ในส่วน นี้ผู้ประกอบธุรกิจมักจะให้ความสำคัญอยู่แล้ว การแสดงชื่อเครื่องสำอางบนฉลากจึงมีความชัดเจนดี จะมี ข้อควรระวังอยู่บ้างก็คือ เครื่องสำอางมักจะมีความหลากหลายในชื่อรุ่น หรือเฉดสี ผู้บริโภคต้องพิจารณาชื่อผลิตภัณฑ์ ให้ดีก่อนที่จะซื้อ
2. ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง
เครื่อง สำอางในปัจจุบันมีหลากหลายชนิด และรูปแบบ จะเห็นว่าเครื่องสำอางที่มีลักษณะเป็นครีมข้นบรรจุอยู่ใน หลอดนั้น อาจจะเป็นได้ตั้งแต่ยาสีฟัน โฟมล้างหน้า ครีมบำรุงผิว หรือผลิตภัณฑ์ตกแต่งทรงผม น้ำยาใสในขวดทรงสวย นั้นอาจเป็นได้ตั้งแต่ น้ำหอม ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับผิวหน้า โลชั่นสำหรับจุดซ่อนเร้น ไปจนถึงน้ำยาล้างเล็บ ดังนั้นจึงควร พิจารณาชนิดของเครื่องสำอางให้ถี่ถ้วน ว่าตรงตามความต้องการแน่นอนหรือไม่
3. ส่วนประกอบสำคัญ
ผู้บริโภค ควรให้ความสำคัญกับข้อมูลในส่วนนี้ด้วย แม้ว่าบางครั้งอาจเป็นชื่อสารเคมีที่ไม่รู้จักคุ้นเคย แต่ข้อมูลเหล่านี้ จะมีประโยชน์มาก เมื่อใช้เครื่องสำอางแล้วเกิดอาการแพ้ จะได้บันทึกไว้เป็นข้อมูลส่วนตัวว่าแพ้สารใด หรือถ้าทราบว่า มีประวัติแพ้สารใดมาก่อน ก็สามารถตรวจสอบรายละเอียดของส่วนประกอบในเครื่องสำอางก่อนซื้อ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยง อันตรายจากการแพ้สารเคมีได้ง่ายขึ้น
4. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตและผู้นำเข้า
เป็น การแสดงความรับผิดชอบของเจ้าของผลิตภัณฑ์ โดยผู้บริโภคสามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อติดต่อกับผู้รับผิดชอบ เมื่อมีปัญหาในการใช้ผลิตภัณฑ์
5. วันเดือนปีที่ผลิต
วันเดือนปี ที่ผลิตเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ผู้บริโภคจะทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตขึ้นเมื่อใด หากผลิตมานานแล้ว อาจเสื่อมคุณภาพหรืออาจจะใช้แล้วไม่ได้ผล ทั้งนี้ต้องดูลักษณะอื่นๆของผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย เครื่องสำอางที่มี การจัดเก็บอย่างดี อยู่ในสภาพที่ปิดสนิท อยู่ในที่เย็น ไม่ถูกแสงแดด จะมีอายุยืนยาวกว่าเครื่องสำอางที่เก็บไว้ในที่ร้อน ชื้น แสงแดดส่องถึง
จะ สังเกตได้ว่าที่ฉลากของเครื่องสำอางมักไม่บอกวันหมดอายุ เนื่องจากอายุของเครื่องสำอางขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สารที่เป็นส่วนผสมในตำรับ จะมีผลต่อความคงตัวของตำรับ รวมทั้งเทคนิคการบรรจุ และที่สำคัญที่สุดคือ การเก็บรักษา เครื่องสำอางที่ผลิตมาพร้อมๆกันนั้น ชิ้นที่ได้รับการเก็บรักษาอย่างดี อยู่ในสภาพปิดสนิท อยู่ในที่เย็น ไม่โดนแสงแดด หรือความชื้น ก็ย่อมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าชิ้นที่เก็บรักษาไม่ดี การตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอาง จึงต้องพิจารณาวันเดือนปีที่ผลิต ประกอบกับลักษณะของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการเก็บรักษาเครื่องสำอางนั้นด้วย
6. วิธีใช้
เมื่อ ซื้อเครื่องสำอางมาแล้ว ก็ต้องศึกษาวิธีใช้อย่างละเอียด เพื่อที่จะได้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า และปลอดภัย เช่น ครีมบำรุงผิวหน้าบางชนิดต้องใช้ทาก่อนนอน เพื่อมิให้ถูกแสงแดด เพราะแสงแดดอาจกระตุ้นให้เกิดอาการข้างเคียง ที่ไม่พึงประสงค์ได้ ดังนั้น หากไม่ศึกษาวิธีใช้ให้ถี่ถ้วน ทาครีมนี้ตามความพอใจ หากทาตอนกลางวันแล้วถูกแสงแดด ก็อาจจะกลับกลายเป็นผลเสีย เพราะใช้ไม่ถูกวิธีนั่นเอง
7. ปริมาณสุทธิ
ส่วนนี้จะช่วยให้ผู้ บริโภคเปรียบเทียบ ระหว่างเครื่องสำอางในประเภทเดียวกันได้ว่า ปริมาณและราคาของเครื่องสำอาง แตกต่างกันอย่างไร เพื่อที่จะได้เลือกซื้อเครื่องสำอางอย่างคุ้มค่า สมราคา
8. คำเตือน
เครื่อง สำอางบางชนิดจะต้องแสดงคำเตือนที่ฉลากด้วย แสดงว่าต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ดังนั้น ควรศึกษาคำเตือน ให้เข้าใจอย่างถี่ถ้วน และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
เครื่องสำอางบาง ประเภทมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตราย หากผู้บริโภคใช้ไม่ถูกวิธี กฎหมายจึงมีข้อกำหนดที่เข้มงวด กว่าเครื่องสำอางทั่วไป โดยจัดเป็น เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ และเครื่องสำอางควบคุม ซึ่งจะต้องมีข้อความแสดงประเภท ของเครื่องสำอางที่ฉลากอย่างชัดเจน ผู้บริโภคควรใช้เครื่องสำอางเหล่านี้ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ
คำแนะนำในการใช้เครื่องสำอาง
1. อ่านฉลากให้ละเอียดโดยเฉพาะวิธีใช้และคำเตือน
2. เมื่อใช้เครื่องสำอางเสร็จแล้วต้องปิดให้สนิท และเก็บไว้ในที่ไม่โดนแสงแดด
3. อย่าใช้เครื่องสำอางร่วมกับผู้อื่นเพราะอาจติดเชื้อโรคได้ง่าย โดยเฉพาะเครื่องสำอางแต่งตา
4. อย่าเติมน้ำ หรือของเหลวอื่นๆลงในเครื่องสำอาง ยกเว้นจะมีการระบุไว้ในฉลาก
5. เมื่อเครื่องสำอางมีลักษณะสี กลิ่น ความข้นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อย่าเสียดาย ให้ทิ้งไป
6. หากใช้เครื่องสำอางแล้วมีความผิดปกติเกิดขึ้น ให้หยุดใช้ทันที แล้วรีบปรึกษาแพทย์